การยื่นญัตติขอเปิดการอภิปราย ของ การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2553

วันที่ 24 พฤษภาคม เวลา 11.55 น. ที่รัฐสภา ส.ส.พรรคเพื่อไทย นำโดย นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.อยุธยา พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน เข้ายื่นหนังสือพร้อมแนบรายชื่อ ส.ส. 159 คน ต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เพื่อถอดถอนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี, นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี, นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270

นายวิทยา กล่าวว่า การยื่นถอดถอนครั้งนี้เป็นบทบัญญัติที่เมื่อมีการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วจะต้องยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายในเรื่องทุจริตด้วย ซึ่งเห็นว่ารัฐบาลควรจัดให้พิจารณาญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจก่อนพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ เพราะหากยังมีความขัดแย้ง รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการตามนโยบายได้นั้นต่อให้มีงบประมาณไปก็คงไม่เกิดประโยชน์

นายวิทยา กล่าวว่า ส่วนการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล มี ส.ส.พรรคเพื่อไทย 184 คน ลงชื่อในยื่นญัตติเพื่อยื่นต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งรัฐมนตรีที่จะถูกอภิปรายมี 6 คน คือนายอภิสิทธิ์, นายสุเทพ, นายชวรัตน์, นายโสภณ, นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่ารกระทรวงการคลัง และนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยนายกรณ์ และนายกษิต นั้นฝ่ายค้านไม่ได้ยื่นถอดถอนเนื่องจากมีหลักฐานไม่เพียงพอจะดำเนินการได้ อภิปรายความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายเพียงอย่างเดียว

ต่อมาเวลา 13.30 น. นายวิทยานำรายชื่อ ส.ส.พรรคเพื่อไทย 184 รายชื่อ จากทั้งหมด 189 คน ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ 2 ญัตติ คือ

  1. ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยแนบชื่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย เป็นนายกรัฐมนตรีสำรอง
  2. ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล 5 คน ได้แก่ นายสุเทพ นายชวรัตน์ นายโสภณ นายกรณ์ และนายกษิต ต่อนายชัย

สำหรับ ส.ส.พรรคเพื่อไทยมีทั้งหมด 189 คน แต่ร่วมลงชื่อในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเพียง 184 คนขาด 5 คนคือ

  1. นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1
  2. พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.นนทบุรี รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2
  3. นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร
  4. ร.ต.ปรพล อดิเรกสาร ส.ส.สระบุรี
  5. นายสมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ ส.ส.สัดส่วน

โดยนายจุมพฏ และ ร.ต.ปรพล ได้ไปทำงานร่วมกับพรรคภูมิใจไทยนานแล้ว ส่วนนายสมบูรณ์ แจ้งความจำนงกับพรรคมาก่อนหน้าแล้วว่าหากมีการยื่นญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลจะไม่ร่วมลงชื่อด้วย[3]

ใกล้เคียง

การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย มีนาคม พ.ศ. 2554 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย สิงหาคม–กันยายน พ.ศ. 2564 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2565 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2552 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2553 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2563 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2555 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2564